Toggle navigation
ความเป็นมา
องค์กรระหว่างประเทศ/
มาตรการ SPS/TBT
SPS
TBT
OIE
IPPC
CODEX
กฎระเบียบด้าน
SPS ของไทย
ความปลอดภัยอาหาร(Food Safety)
สุขภาพสัตว์(Animal Health)
อารักขาพืช(Plant Protection)
อื่น ๆ (Other)
SPS TBT
Notification
Notification SPS/WTO เดือนล่าสุด
Notification TBT/WTO เดือนล่าสุด
Notification SPS/WTO ของไทย
Notification TBT/WTO ของไทย
Notification SPS/WTO ของอาเซียน
Notification TBT/WTO ของอาเซียน
ค้นหา Notification
รายงานการประชุม
รายงานประชุมนานาชาติ
รายงานการประชุม SPS Committee
ePing SPS&TBT Platform
WTO docs
online
ACFS
มกอช.
...
...
Previous
Next
มาตรการใหม่ที่สำคัญ
ซาอุดิอาระเบีย ประกาศยกเลิกการชะลอนำเข้าสินค้าสัตว์ปีก และสัตว์ปีกมีชีวิตจากไทย
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
ซาอุดิอาระเบีย ประกาศยกเลิกการชะลอนำเข้าสินค้าสัตว์ปีก และสัตว์ปีกมีชีวิตจากไทย
Date : 17-03-2022
ประกาศคำสั่งด้านความปลอดภัยอาหารและยาของซาอุดิอาระเบีย ฉบับที่ 20564 โดยประกาศยกเลิกการระงับการนำเข้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากไทย ตามผลรายงานที่ทีมเทิคนิคของซาอุดิอาระเบียมาตรวจในไทย ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 65 และซาอุดิอาระเบียได้แจ้งเวียนองค์การการค้าโลกแล้วด้วย รายละเอียดค้นได้จาก
https://members.wto.org/crnattachments/2022/SPS/SAU/22_2234_00_x.pdf
ที่มา: เอกสสาร WTO : G/SPS/N/SAU/461
กรมประมงปรับเปลี่ยนใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ HC2-HC7 เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2565
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
กรมประมงปรับเปลี่ยนใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ HC2-HC7 เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2565
Date : 08-02-2022
ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้าเพื่อการส่งสัตว์น้าออกนอกราชอาณาจักรพ.ศ. 2564 เเพื่อแจ้งให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกทราบตามพันธกรณีด้านความโปร่งใส เนื่องจากได้มีการปรับปรุงแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำของประเทศไทย จำนวน 6 ฉบับ สำหรับใช้รับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2565 สรุปได้ดังนี้
HC 1 แบบคำขอเป็นผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์นำ้ และแบบคำขอหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ
HC2: แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้า สาหรับส่งออกสัตว์น้าไปยังประเทศปลายทางที่ไม่มีแบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้าใช้เฉพาะด้านหลังมีรายละเอียดการรับรองตามข้อกาหนดทั่วไปของ OIE OIE และระบุรายการโรคสัตว์น้าที่กรมประมงให้การรับรอง ตัวอย่างประเทศเวียดนาม คูเวต ฟิลิปปินส์
HC3 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้าที่ไม่ระบุรายการโรคสัตว์น้าที่กรมประมงให้การรับรอง ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ไม่ได้ร้องขอให้รับรองโรคสัตว์นำ้
HC4 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้า สาหรับส่งออกสัตว์น้าไปยังประเทศปลายทางที่มีแบบฟอร์มหนังสือรับรองฯ ใช้เฉพาะของตนเอง การออกหนังสือฯ จะแนบ HC 4 ไปพร้อมหนังสือรับรองฯ ของประเทศคู่ค้านั้น ๆ เช่น EU ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เครือรัฐออสเตรเลีย
HC5 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้าที่ใช้สาหรับการส่งออกสัตว์น้าไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยจะมีการระบุชื่อวงศ์ (family) (family) ของสัตว์น้าที่ส่งออก
HC6 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้า สาหรับการรับรองสัตว์น้าปลอดโรคในระดับคอมพาร์ตเมนต์ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ร้องขอให้รับรองโรคสัตว์น้าในระดับคอมพาร์ตเมนต์
HC7 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้า สาหรับการส่งออกสัตว์น้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่องานวิจัย นิทรรศการ หรือประกวด
ทั้งนี้ ตามบัญชีแนบท้ายประกาศได้กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดจำนวน ๒๓ กลุ่ม ได้แก่ ปลาคาร์พ ปลาไน ปลาตะเพียนเทศ ปลาลิ่น ปลาเฉา ปลาทอง ปลาปอมปลาดัวร์ ปลานิล ปลากะรัง กุ้ง crayfish น้ำจืด กุ้งปูสวยงาม กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย กบ จระเข้นำ้จืด จระเข้นำ้เค็ม/น้ำกร่อย ตะพาบน้ำ เพรียงทราย และกลุ่มปลาที่ยอมรับเชื้อ Megalocytivirus กรณีส่งออกไปออสเตรเลีย เช่น กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ กลุ่มปลากริม กลุ่มปลาสอด ปลาหางนกยูง กลุ่มปลากระดี่ กลุ่มปลาหมอสี ปลาพาราไดซ์ ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ปลากัด
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/293/T_0001.PDF
ที่มา เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/THA/490
ญี่ปุ่นกำหนดให้แจ้งล่วงหน้าสำหรับเมล็ดพันธุ์มะละกอและต้นกล้ามะละกอสำหรับปลูกจากไทยที่ีจะนำเข้าญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
ญี่ปุ่นกำหนดให้แจ้งล่วงหน้าสำหรับเมล็ดพันธุ์มะละกอและต้นกล้ามะละกอสำหรับปลูกจากไทยที่ีจะนำเข้าญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
Date : 15-12-2021
ญี่ปุ่นกำหนดให้แจ้งล่วงหน้าสำหรับเมล็ดพันธุ์มะละกอและกล้าสำหรับปลูกจากไทยที่ีจะนำเข้าญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 คือ แจ้งก่อน 10 วัน คือต้องแจ้งภายใน 10 วันทำการก่อนวันที่วางแผนไว้การนำเข้าในแต่ละครั้ง
รายละเอียดค้นได้จาก
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/JPN/21_6928_00_e.pdf
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/JPN/874
รัสเซียได้แก้ไขโดยได้เพิ่มรายชื่อศํตรูพืชกักกันจำนวน 11 ชนิด โดยสามารถให้ข้อคิดเห็นได้ถึงวันที่ 4 ก.พ. 64
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
รัสเซียได้แก้ไขโดยได้เพิ่มรายชื่อศํตรูพืชกักกันจำนวน 11 ชนิด โดยสามารถให้ข้อคิดเห็นได้ถึงวันที่ 4 ก.พ. 64
Date : 03-12-2021
รัสเซียโดย Eurasian Economic Commission Council ได้แก้ไขโดยได้เพิ่มรายชื่อศํตรูพืชกักกันจำนวน 11 ชนิด ดังนี้
1. Natal fruit fly (Ceratitis rosa Karsch);
? 2. Cucurbit beetle (Diabrotica speciosa Germar);
? 3. Western potato flea beetle (Epitrix subcrinita Le?onte);
? 4. Emarginate ips (Ips emarginatus Le?onte);
? 5. Monterey pine engraver (Pseudips mexicanus Hopkins);
? 6. Western cherry fruit fly (Rhagoletis indifferens Curran);
? 7. African armyworm (Spodoptera exempta Walker);
? 8. Sunflower fruit fly (Strauzia longipennis Wiedemann);
? 9. American dagger nematode (Xiphinema americanum sensu stricto Cobb);
? 10. Bricolense dagger nematode (Xiphinema bricolense Ebsary, Vrain & Graham);
? 11. Californian dagger nematode (Xiphinema californicum Lamberti & Bleve-Zacheo).
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/RUS/21_7508_00_x.pdf
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/RUS/241
USA ได้แจ้งอนุญาตการนำเข้าส้มโอผลสดที่มาจากไทย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 64
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
USA ได้แจ้งอนุญาตการนำเข้าส้มโอผลสดที่มาจากไทย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 64
Date : 03-12-2021
ประกาศฉบับสุดท้าย (Final Rule) หน่วยงาน APHIS ได้แจ้งอนุญาตการนำเข้าส้มโอผลสดที่มาจากไทย เป็นผลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชซึ่งได้มีการทบทวนและรับข้อคิดเห็นจากสาธารณชนและได้กำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชเพียงหนึ่งวิธีหรือมากกว่าที่เพียงพอในการลดความเสี่ยงของการแพร่เข้ามาหรือกำจัดศัตรูพืชหรือวัชพืชร้ายแรงจากการนำเข้าส้มโอผลสดจากไทย ตามกฎระเบียบฉบับที่??319.56-4(c)(3)(iii), ประกาศอนุญาตนำเข้าส้มโอผลสดจากไทยมายังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นทวีป ด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช 1) ส้มโอผลสดเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์เท่านั้นและต้องกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการฉายรังสีตามกฎระเบียบ 7 CFR part 305 2) ก่อนบรรจุผลส้มโอสดจะต้องล้าง แปรง จุ่มน้ำ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri Gabriel et al. ด้วยสารที่ APHIS รับรองให้ใช้ที่เป็นสารฆ่าเชื้อที่ผิว และการกำจัดเชื้อรา Phyllosticta citriasiana และ Phyllosticta citricarpa ด้วยสารกำจัดเชื้อราที่ APHIS รับรองให้ใช้ 3) ทุก shipment ต้องมีใบรับรอง PC ที่ออกโดย NPPO ของประเทศไทย หากมีการฉายรังสีส้มโอผลสด สินค้าจะต้องตรวจสอบในแต่ละครั้งร่วมกับไทยระหว่าง NPPO และ APHIS และใบรับรอง PC จะต้องบรรจุหรือรับรองเพิ่มเติมถึงการฉายรังสีแล้วตามกฎระเบียบ 7 CFR part 305 หากฉายรังสีเมื่อมาถึงสหรัฐภาคพื้นทวีปไม่จำเป็นต้องตรวจสอบร่วมในไทยแต่ต้องรับรองเพิ่มเติม 4) สินค้าส้มโอผลสดจากไทยต้องผ่านการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้ามายังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นทวีป
https://www.regulations.gov/document/APHIS-2016-0034-0013
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/IDN/2994/Add.1
เกาหลีใต้ แจ้งแก้ไขพื้นที่(ประเทศ)พบการระบาดและรายชื่อพืชอาศัยของไวรอยด์ Potato spindle tuber viroid (PSTVd) รวมประเทศไทย
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
เกาหลีใต้ แจ้งแก้ไขพื้นที่(ประเทศ)พบการระบาดและรายชื่อพืชอาศัยของไวรอยด์ Potato spindle tuber viroid (PSTVd) รวมประเทศไทย
Date : 03-12-2021
หน่วยงานด้านการกักกันพืชและสัตว์ (APQA) ได้แก้ไขพื้นที่พบการระบาดและรายชื่อพืชอาศัยของไวรอยด์ Potato spindle tuber viroid (PSTVd) ซื่งไวรอยด์ PSTVd เป็นศัตรูพืชกักกันของเกาหลีใต้ที่เป็นผลมาจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ดังนั้น การนำเข้าเมล็ดพันธุ์เพื่อนำมาปลูก ลำต้นและใบสด ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินที่สดและมีชิวิตของพืชอาศัยในภูมิภาคที่ระบุตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 64 เป็นต้นไป สรุปการแก้ไขดังนี้ 1) แจ้งยกเลิกประเทศที่พบไวรอยด์ ได้แก่ อาร์เจนตินา ชิลี นิวซีแลนด์ 2) รายการชนิดพืช เช่น เมล็ดพันธุ์ พริก มะเขือ มะเขือเทศ Atriplex Cestrum Dahlia เป็นต้น รายละเอียดดูได้จาก SPS Notification G/SPS/N/KOR/501/Add.1 3) กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าให้เลือกไม่ข้อที่ 1 หรือ ข้อ 2 ดังนี้ ข้อที่ 1 โดยการรับรองว่าเมล็ดพันธุ์ที่ส่งออกและผลิตในพื้นที่หรือแปลงผลิตที่ปลอดจากไวรอยด์ PSTVd และสินค้าจะต้องมีใบรับรอง PC แนบมากับสินค้าด้วยโดยระบุข้อควาามรับรองเพิ่มด้วย สรุป ข้อความว่า เมล็ดพันธุ์ต้องมาจากแปลงหรือพื้นที่ที่ปลอดจากไวรอยด์ที่เป็นไปตามมาตฐานฉบับที่ 4 หรือ 10 (places or production sites free from Potato spindle tuber viroid) หรือข้อที่ 2 โดยการรับรองว่าเมล็ดพันธุ์ที่ส่งออกและผลิตในพื้นที่หรือแปลงผลิตที่ปลอดจากไวรอยด์ PSTVd โดยการทดสอบโดยวิธี PCR ก่อนส่งออก และสินค้าจะต้องมีใบรับรอง PC แนบมากับสินค้าด้วยโดยระบุข้อควาามรับรองเพิ่มด้วย สรุป ข้อความว่า เมล็ดพันธุ์ได้ผ่านการทดสอบด้วยวิธี PCR และไม่พบไวรอยด์ หรือรับรอง PC และแยกกับใบรับรองออกมาสำหรับการทดสอบ PCR
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/KOR/501/Add.1
อินโดนีเซียจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากระทรวงศาสนาของอินโดนีเซีย ฉบับที่ ... ปี ค.ศ. 2021 เกี่ยวกับประเภทของผลิตภัณฑ์และสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องผ่านการรับรองสินค้าฮาลาล
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
อินโดนีเซียจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากระทรวงศาสนาของอินโดนีเซีย ฉบับที่ ... ปี ค.ศ. 2021 เกี่ยวกับประเภทของผลิตภัณฑ์และสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องผ่านการรับรองสินค้าฮาลาล
Date : 19-10-2021
สินค้า: อาหาร อุปกรณ์การเชือด บรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ HALAL
รายละเอียด: จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากระทรวงศาสนาของอินโดนีเซีย ฉบับที่ ... ปี ค.ศ. 2021 เกี่ยวกับประเภทของผลิตภัณฑ์และสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องผ่านการรับรองสินค้าฮาลาล โดยการแบ่งประเภทสินค้าพิจารณาตามคุณลักษณะของแต่ละสินค้าและองค์ประกอบของการเตรียมวัตถุดิบและ/หรือกระบวนผลิต ประกอบด้วย 15 กลุ่มประเภทสินค้า ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ผลิตภัณฑ์จากการดัดแปรพันธุกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค บริการฆ่าสัตว์ บริการแปรรูป บริการเก็บรักษา บริการบรรจุหีบห่อ บริการกระจายสินค้า บริการการขาย และ serving service
สำหรับชนิดสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในภาคผนวกของ พ.ร.ฎ. หรือมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากความเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบอื่นๆ ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอการรับรองสินค้าฮาลาลได้ อีกทั้ง การจัดจำแนกประเภทสินค้าที่ไม่ได้มีรายชื่ออยู่ในร่างกฎระเบียบนี้จะถูกกำหนดโดย BPJPH ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องและ Indonesian Ulama Council (MUI) เมื่อ พ.ร.ฎ กระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ พ.ร.ฎ กระทรวงศาสนา ฉบับที่ 464 ปี ค.ศ. 2020 เกี่ยวกับประเภทของสินค้าที่ต้องผ่านการรับรองสินค้าฮาลาลจะถูกเพิกถอนและไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป ทั้งนี้ กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ภายหลังพ้น 6 เดือน นับจากวันประกาศ
https://members.wto.org/crnattachments/2021/TBT/IDN/21_4444_00_x.pdf
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/TBT/N/IDN/134
เกาหลีใต้แก้ไขเพิ่ม พืชสกุลข่า ( Alpinia spp.) เป็นพืชอาศัยของไส้เดือนฝอย Radopholus similis
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
เกาหลีใต้แก้ไขเพิ่ม พืชสกุลข่า ( Alpinia spp.) เป็นพืชอาศัยของไส้เดือนฝอย Radopholus similis
Date : 19-10-2021
เพิ่มเติมรายชื่อพืชอาศัยของไส้เดือนฝอย Radopholus similis ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อศัตรูพืชกักกันของเกาหลีใต้ ตามผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง (PRA) โดยเพิ่มส่วนใต้ดินมีชีวิตของพืชสกุลข่า ( Alpinia spp.) จากทั่วโลกตามที่ระบุ (รวมประเทศไทย) จะถูกห้ามนำเข้าตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 64 เป็นต้นไป
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/KOR/21_4711_00_e.pdf
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/KOR/248/Add.20
ฟิลิปปินส์ประกาศการปรับปรุงรายชื่อสินค้าที่ต้องแสดงปริมาณ GMO (GMO content)
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
ฟิลิปปินส์ประกาศการปรับปรุงรายชื่อสินค้าที่ต้องแสดงปริมาณ GMO (GMO content)
Date : 19-10-2021
ประกาศการปรับปรุงรายชื่อสินค้าที่ต้องแสดงปริมาณ GMO (GMO content) เพื่อการนำเข้ายังฟิลิปปินส์ จำนวน 35 ชนิด แต่ละพืชอาจมีชนิดย่อย เป็นพวกแป้ง หัว เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น อาทิ ข้าว ข้าวโพด มะละกอ เมลอน เป็นต้น
สินค้า: ผลิตภัณฑ์จากพืชที่ผลิตโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ หรือแปรรูปเพื่อเป็นอาหาร อาหารสัตว์
วันที่มีผลบังคับใช้: 15 วันหลังจากลงนามในประกาศฯ
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/PHL/21_5186_00_e.pdf
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/PHL/21_5186_01_e.pdf
ที่มา : เอกสาร WTO หมายเลข G/SPS/N/PHL/63/Add.1
เกาหลีใต้แก้ไข พ.ร.บ. การควบคุมโรคสัคว์น้ำ โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 30 มิ.ย. 65
More...
×
รายละเอียดเพิ่มเติม
เกาหลีใต้แก้ไข พ.ร.บ. การควบคุมโรคสัคว์น้ำ โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 30 มิ.ย. 65
Date : 19-10-2021
เสนอขอแก้ไขข้อบังคับตามพระราชบัญญัติการควบคุมโรคสัตว์น้ำ (Enforcement Rule of Aquatic Life Disease Control Act) ประกอบด้วย
สินค้า: สัตว์น้ำมีชีวิต (ปลา มอลลัสก์ และครัสเตเชียน) กุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (amphibian)
1. ลงรายการการติดเชื้อ Decapod iridescent virus-1 (DIV1) เป็นโรคติดต่อของสัตว์น้ำ (contagious aquatic organisms? disease); 2. ลงรายการให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (amphibian) ต้องผ่านการกักกันก่อนการนำเข้า 3. อนุญาตการใช้งานใบรับรองแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออก 4. ขยายขอบเขตการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้า (import risk analysis) 5. ดำเนินการตรวจประเมินในพื้นที่ (on-site audit) ตามการหารือกับประเทศผู้ส่งออก
วันที่มีผลบังคับใช้: 30 มิถุนายน 2565
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/KOR/21_5879_00_x.pdf
ที่มา : เอกสาร WTO G/SPS/N/KOR/737
ประกาศ SPS Notification & TBT Notification (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 31 พ.ค. 65
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 31 พ.ค. 65
Date : 06-06-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 พ.ค. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 พ.ค. 65
Date : 25-05-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 30 เม.ย. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 30 เม.ย. 65
Date : 17-05-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 เม.ย. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 เม.ย. 65
Date : 05-05-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 31 มี.ค. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 31 มี.ค. 65
Date : 18-04-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 มี.ค. 2565  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 มี.ค. 2565
Date : 31-03-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 28 ก.พ. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 28 ก.พ. 65
Date : 08-03-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 31 ม.ค. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 16 - 31 ม.ค. 65
Date : 17-02-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 ม.ค. 65  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 15 ม.ค. 65
Date : 24-01-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 21 ธ.ค. 64  
More...
×
มาตรการ SPS/TBT วันที่ 1 - 21 ธ.ค. 64
Date : 07-01-2022
ลิงค์เอกสาร :
มาตรการ SPS
มาตรการ TBT (สินค้าเกษตรและอาหาร)
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Early warning
Thailand NTR
ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหาร
SPS Agreement Book
ลิงค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
WTO
CODEX
OIE
IPPC
กรมวิชาการเกษตร
กรมปศุสัตว์
กรมประมง
อ.ย.
กรมอนามัย
กรมควบคุมโรค
ข้อคิดเห็นต่อประกาศ Notification SPS/TBT
จำนวนผู้เข้าชม 3465
Copyright © 2015. www.acfs.go.th All Rights Reserved
.
หน่วยประสานงานกลางด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของประเทศไทย(Thailand SPS Contact Point)
กลุ่มความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอื่นๆ (SPS Section)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
ที่อยู่ เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. 10900
โทร. 02-561-4204 โทรสาร 02-561-4034
E-mail : spsthailand@gmail.com, sps@acfs.go.th